Donate

แถลงการณ ์ ร่วมภาคประชาสงัคม เรื7องภาคประมงของไทยในช่วงหวัเลีAยวหวัต่อ: ความก้าวหน้าของรัฐบาลไทยในการบรรลุภาคประมงไทยที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และมีจริยธรรม เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปถอยหลังในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อประเทศไทยและอุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาคมโลกกำลังมุ่งสู่ความโปร่งใสและความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมอาหารทะเลมากขึ้น

สถานการณ์์การประมงไทย: รายงานฉบับนี้รวบรวมความก้าวหน้าที่สำคัญของประเทศไทยในการต่อสู้กับประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนกลางทะเล ทั้งนี้ยังได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาลไทยในการธำรงไว้ซึ่งความก้าวหน้าและทำให้มั่นใจได้ว่าอุตสาหกรรมประมงไทยจะมีความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขัน

รายงานบทสรุปนโยบายของ EJF เพื่อเสนอรัฐบาลไทย: คณะกรรมธิการยุโรปได้ปลดใบเหลืองซึ่งออกในเดือนเมษายน พ.ศ.2558 จากประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า3ปีแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2562 ประเทศไทยได้ผ่านช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน ความเป็นผู้นำ และความยากลำบากหลายครั้ง รวมถึง การเลือกตั้งทั่วไป การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน และการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยรัฐบาลไทยได้แสดงความสามารถในการปรับตัวและแก้ไขปัญหาการทําาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) รวมถ่งการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งในช่วงวิกฤตและโอกาส รายงานสรุปนี้ให้การวิเคราะห์โดยละเอียดสำหรับแต่ละประเด็น ตลอดจนคำแนะนำว่ารัฐบาลไทยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อจัดการกับช่องว่างในปัจจุบันได้อย่างไร

ความคืบหน้าของประเทศไทยในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม การบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2564: ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการสังเกตการณ์เชิงลึกหลายครั้งเกี่ยวกับโครงการริเริ่มของรัฐบาลไทยที่มุ่งแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงของไทย มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อมได้เฝ้าสังเกตทุกขั้นตอนของระบบติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) พร้อมเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ทั้งหมด 30 แห่ง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลง รวมถึงการสังเกตการณ์การลาดตระเวนในทะเลหลายครั้งที่ดำเนินการโดยกองทัพเรือไทย ตำรวจน้ำ กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

คู่่มืือการเข้้าร่่วมโครงการทะเลปลอดเศษอวน (Net Free Seas) สําํา หรัับชุุมชนประมงพื้้นบ้้าน: คู่มือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญสำหรับชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ Net Free Seas (ทะเลปลอดอวน)ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการเข้าร่วมโครงการ และภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเศษอวน

การสััมภาษณ์์แรงงานข้้ามชาติิ: คู่มือรวบรวมคำแนะนำฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับกระบวนการสัมภาษณ์ที่ควรทำและคำถามที่ควรใช้สัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติเพื่อคัดกรองหาสัญญาณบ่งชี้กรณีการค้ามนุษย์หรือการบังคับใช้และละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมประมง โดยอ้างอิงจากข้อมูลทีได้จากการสืบสวนและลงพื้นที่สังเกตการณ์ของ EJF ตั้งแต่ พ.ศ. 2556

COVID-19 Mythbusters: แผ่นผับนี้จัดทำขึ้นสำหรับประเทศไทย หากพำนักอยู่ที่ประเทศอื่นควรตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของภาครัฐในประเทศนั้น

รายงานเรื่องความคืบหน้าของประเทศไทย ในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม การบังคับใช้แรงงาน และ การค้ามนุษย์ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL JUSTICE FOUNDATION : EJF) ฉบับฤดูใบไม้พลิ ปี: ในช่วงปีที่ผ่านมา EJF ได้เห็นพัฒนาการในการดำเนินงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง อาทิ การนำหลักการตรวจสอบเรือประมงตรวจเรือประมงตามความเสี่ยง มาประยุกต์ใช้ และการเร่งเพิ่มจำนวนล่ามประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง อย่างไรก็ตามยังคงมีบางประเด็นปัญหาและข้อกังวลที่อาจส่งผลต่อระบบการบริหารจัดการการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงโดยรวมหากไม่ได้รับการแก้ไข

10 หลักการเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลทั่วโลก - ฉบับภาษาไทย Ten principles of transparency: ความโปร่งใสเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) จึงได้จัดทำหลักการด้านความโปร่งใส 10 ข้อ เพื่อแนวทางในการปฎิบัติให้แก่นานาประเทศ

  • 1